เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [6.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 9.อกุสลนิทเทส
ความอาฆาต ความอาฆาตตอบ ฯลฯ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด
ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปฏิฆะจึงมี
เพราะปฏิฆะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน
ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์ นี้เรียกว่า
เพราะปฏิฆะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
นี้เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

อกุศลจิตดวงที่ 11
[288] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา มีรูปเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ 6 จึงมี เพราะอายตนะ
ที่ 6 เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย วิจิกิจฉาจึงมี เพราะวิจิกิจฉาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ
จึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[289] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ 6 เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :269 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [6.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] 2.อภิธรรมภาชนีย์ 9.อกุสลนิทเทส
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย วิจิกิจฉาจึงมี เป็นไฉน
ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะที่เคลือบแคลง ความคิดเห็นไป
ต่าง ๆ ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความคิดเห็นเป็นสองทาง ความคิดเห็นเหมือน
ทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิด
ส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้าง
แห่งจิต วิจิกิจฉา1 นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย วิจิกิจฉาจึงมี
เพราะวิจิกิจฉาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นวิจิกิจฉาแล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะวิจิกิจฉาเป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

อกุศลจิตดวงที่ 12
[290] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ 6 จึงมี เพราะอายตนะ
ที่ 6 เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย อุทธัจจะจึงมี เพราะอุทธัจจะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็น
ปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

เชิงอรรถ :
1 อภิ.สงฺ. 34/425/118

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :270 }